วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555


ปลานิล

                การเลี้ยงปลานิลในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง  ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์  และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้  หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาเลี้ยงให้สั้นลงได้
การเลือกสถานที่
                บริเวณที่จะทำการเลี้ยงปลาในกระชังจะต้องมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี  เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นการเลี้ยงแบพัฒนา  เน้นในการจัดการเลี้ยงโดยใช้อาหารเป็นหลัก  คุณภาพน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง  โดยปกติแหล่งน้ำที่ควรมาเลี้ยงปลา ควรเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์   การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถถ่ายน้ำได้หมดได้
ชนิดปลาที่จะเลี้ยงละอัตราการปล่อย
                การเลี้ยงกระชังเป็นการเลี้ยงปลานิลเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  มีความอดทน  มีตลาดรองรับ  โดยเฉพาะปลานิลแปลงเพศ  ซึ่งเป็นปลาเพศผู้ล้วน  จะมีการทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นกว่าการเลี้ยงปลานิลที่มีขนาดใหญ่  และปลาแต่ละตัวก็มีขนาดไม่แตกต่างกันมาก

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

                การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งสำหรับการจัดการการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการเลี้ยงในกระชังควรคำนึงถึงขนาดของปลา  และประมาณที่ตลาดต้องการ

การจัดการรระหว่างการเลี้ยงดู

                ควรมีการตรวจสอบกระชัง เพื่อซ่อมแซม  ส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์  ร่วมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนัก  เพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้อย่งเหมาะสม

ปลาหางนกยูง

           เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง  มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน  5   นิ้ว   มีจุดเด่นคือ ครีบหางที่มีขนาดใหญ่  ตัวผู้เเละตัวเมียมีความเเตกต่างกัน  จนเห็นได้ชัดกล่าวคือ  ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า  เเต่มีสีสันเเละครีบที่สวยงามกว่า  ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า  ท้องอูม  สีสันเเละครีบเครื่องเล็กกว่า
           มีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้  อาศัยอยู่ในเเหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระเเสน้ำไหลเอื่อยๆเป็นปลาอาศัยรวมเป็นฝูง  หากินบริเวณผิวน้ำ  โดยกินทั้งพืชเเละสัตว์น้ำรวมถึงเเมลงหรือตัวอ่อนเเมลงขนาดเล็กด้วย

 สายพันธุ์ปลาหางนกยูง

            ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมเพาะเลี้ยง  เเละเเพร่หลายเเทบทั่วในโลก  ประกอบกับปลาที่ออกลูกเป็นตัวเเละสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ง่ายมาก  ทำให้เกิดปลาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก    เเต่ก็พอจะจัดกลุ่มของสายพันธุ์ปลาหางนกยูง  ได้เป็นดังนี้
1. สายพันธุ์คอบร้า
2.สายพันธุ์โมเสด
3.สายพันธุ์กร๊าซ
4.สายพันธุ์นกยูงหางคาบ

การเลี้ยงปลาหางนกยูง

           การเลี้ยงปลาหางนกยูงนับเป็นเรื่องง่ายมาก  ปลาหางนกยูงจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการติดเชื่อ  หากผู้เลี้ยงหมั่นทำความสะอาดบ่อเลี้ยง  ไล่เศษอาหารที่ตกค้างวออกจากบ่ออย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งอาจจะกระทำทุกๆ  2-3 วัน  ต่อครั้งก็เป็นการเพียงพอ  สำหรับผู้เลี้ยงทั่ไปที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก  ควรใช้อาหารปลาสวยงามที่จำหน่ายตามร้านขายปลาสวยงาม  โดยไม่จำเป็นต้องเลือกอาหารเฉพาะเจาะจง  ซึ่งจะมีราคาไม่เเพงมากนัก ก็จะใช้เลี้ยงปลาได้ดี  เพราะปลาหางนกยูงกินอาหารได้ง่ายเเละเจริญเติบโตได้ดี  โดยควรให้อาหารวันละ   2   ครั้ง  ในตอนเช้าเเละตอนเย็น  ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อเพาะพนธุ์ปลาออกจำหน่าย  จำเป็นต้องเลี้นงปลาจำนวนมาก  จะต้องพยายามลดต้นทุนการผลิต อาจเลือกใช้อาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลาดุกเล็ก ซึ่งมีราคาถูกเละมีธาตุอาหารครบถ้วน  นำมาใช้สำหรับเลี้ยงปลาก็จะทำให้ปลาดเจริญเติบโตได้อย่างดี  จะใช้เวลาเลี้ยงปลา  40-60  วัน  ก็สามารถจับจำหน่ายได้

 การอนุบาลลูกปลาหางนกยูง

             ลูกปลาที่เเยกจากบ่อเพาะหรือแม่ปลาที่คลอดเเล้ว   นำมาเลี้ยงในภาชนะหรือบ่อขนาดปานกลาง  มีความจุประมาณ    30 - 100  ลิตร  ขึ้นกับจำนวน

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาทอง

               ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียก ว่า ปลาทองปลาเงิน เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ ปลาตะเพียน  เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนเเละญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า  2,000  ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
               โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดเเรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฎไม่ต่ำกว่า 2,000  ปีมาเเล้ว  เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศเเรกที่เลี้ยงปลาทอง  เเต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามเเละหลากหลายมาจนปัจจุบันโดยเมืองเเรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี   ค.ศ. 1502 - ค.ศ. 1503  เเต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปีถึงขนาดมีขายปลาทองเปิดกันเ็นจำนวนมาก
               ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ด  เเบบบางเรียบ ครีบหางเป็นรูปพัด  เป็นปลาที่กินพืช  เเละเเมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินได้ตลอดทั้งวัน  ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบเเละใบหน้า  ปลาช่วงช่องท้องจะอูมเป่งออก  วางไข่ตามพื้นน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ  2  วัน
                ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เเละปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงอายุ ประมาณ  7-8  ปี  พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง  20  ปี  ปัจจุบันประเทศจีน ,ฮ่องกง , สิงคโปร์   เเละญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด

สายพันธุ์ปลาทอง

                  มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง มีไม่ต่ำกว่า  100 สายพันธุ์   ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็หายไปโดยสายพันธุ์เเรกที่มีการเลี้ยงคือ  ฮิฟุนะ  ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ  เเต่กว่ามีสีทอง  ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง  3  เเฉก  เรียกว่า  วากิ้น  เเละจากวากิ้นก็ถูกพัฒนามาเป็น ปลาทองหาง  4   แฉก  คือ  จิกิ้น  จนในที่สุดก็กลายมาเป็น ริวกิ้น ในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลากัด

            ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาเเล้วทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นเเละเพื่อกีฬากัดปลาเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศ เช่นกัน  ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างเเพร่หลาย  เนื่องจากเป็นปลาที่เพาะเลี้ยงได้ง่าย ปีหนึ่งๆ ประเทสไทยได้ส่งปลากัดไปขายในต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า  20  ล้านบาท
    
             ปลากัดพันธุ์ดังเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาเเถบเขียว ครีบเเละหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบ เเละการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานานทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็เเผ่นกว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก เเละจากสาเหตุนี้ก็ได้มีการจำเเนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การเเพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ  หนอง  บึง เเอ่งน้ำ  ลำคลอง เป็นต้น

          ในการเลี้ยงปลากัด เพื่อการต่อสู้ มีกาืรคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากเเหล่งน้ำธรรมชาติ เรียกกันว่า "ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง"โดยมีลำตัวค่อนข้างเล็กบอกบางสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาเเถบเขียว จนได้ปลาที่มีรูปร่างเเข็งเเรง สีสีนสวยงาม เช่น สีเเดงเข้ม  สีน้ำตาลเข้ม  สีน้ำเงินเ้ข้ม  หรือสีผสมระหว่าง ต่อมาได้มีผู้ที่พยายามคัดเลือกพันธ์โดยเน้นความสวยงามฃ

การเลี้ยงพ่อเเม่พันธุ์ปลา

          เนื่องจากปลากัดชอบมีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้ เมื่อมีอายุประมาณ 11/2-2 เดือน การเลื้ยงปลากัดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรีบเเยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่จะมีปลาที่มีพฤติกรรมต่อสู้กันในภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควร  การเเยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีตัวสีเข้ม  ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนเเละขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย  ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง เเละมัักจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้


อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา

          ปลากัดเป็นปลาที่ชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่มีชีวิต เป็นอาหารสำหรับลูกปลาออ่นนิยมที่จะไรกรองสำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อเเม่พันธุ์ปลากัด เช่นลูกน้ำ หนอนเเดง ไรมีน้ำตาล เป็นต้น

การคัดเลือกพ่อเเม่พันธุ์

          ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือ ช่วงระยะเดือน พฤษภาคม-กันยายน ปัจจุบันสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอด โดยอุณหภูมิน้ำ ควรอยู่ระหว่าง  26-28  องศาเซลเซียสควรมีอายุตั้งเเต่  5-6 เดือนขึ้นไป  โดยปลาจะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้อย่างชัดเจนในการคัดควรมีหลักที่ควรปฏิบัติต่อไปนี้
         -  ปลาเพศผู้ คัดปลาที่เเข็งเเรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสวยชอบสร้างรังเรียกว่า"หวอด" โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากเเละลำคอผสมด้วย ซึ่งเเสดงให้เห็นว่าเพศผู้มีความสมบูรณ์
          -  ปลาเพศเมีย  คัดเลือกปลาที่เเข็งเเรง สังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่งเเละบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวเห็นได้ชัด ซึ่งตุ่มสีขาวเรียกว่า"ไข่น้ำ"

วิธีการเพาะพันธุ์

        1.นำขวดปลาเพศเเละเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่มาว่างติดต่อกัน ซึ่งควรจะมีที่ปราศจากสิ่งรบกวนเพราะจะทำให้ปลาตกใจ ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน
        2.จากนั้นก็น้ำปลาที่เตรียมไว้มาใส่ภาชนะที่ผสมพันธุ์เเละนำพัธุ์ไม้ที่เตรียมไว้มาใส่
        3.เมื่อปลาปรับตัวกับภาชนะได้เเล้วปลาเพศผู้ก็เริ่มก่อหวอดติดกับพันธุ์ไม้
        4.หลังจากสร้างหวอดเสร็จเเล้ว ปลาเพศผู้ก็จะไล่ต้อนปลาเพศเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด
        5.ขณะที่ตัวเมียลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียบริเวณช่องอวัยวะเพศ
        6.จากนัั้้นไข่ก็จะหลุดมา  พร้อมกับเพศผู้ฉีดน้ำเชื่อ  เข้าผสม
        7.เมื่อสิ้นสุดการว่างไข่ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูเเลไข่ตามลำพัง
        8.หลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียมากินไข่
        9.ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูเเลไข่ได้ 2 วันเเล้วค่อยเเยกออก

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาดุก (Catfish)

ปลาดุก


             ปลาดุกจะมี 2 ชนิด คือ ปลาดุกด้าน กับ ปลาดุกบิ๊กอุย  เเต่เกษตรกรไทยนิยมเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย   เพราะปลาดุกบิ๊กอุยจะเลี้ยงง่าย  โตเร็ว ต้านทานโรค เเละเนื้อปลาจะมีรสชาติที่อร่อย

ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุก  คือ

1.การปล่อยลูกปลา  

           ลูกปลาที่ปล่อยขนาน 2-3 เซนติเมตร  ควรปล่อย  40-100  ตัว ต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับอาหาร ขนาดบ่อ เเละระบบการถ่ายน้ำ  ปกติอัตราการเลี้ยงจะอยู่ประมาณ   50  ตัวต่อตารางเมตร

2.การให้อาหาร

         ในวันที่ปล่อยลูกปลายังไม่ควรให้อาหาร  ควรให้ในวันถัดไป  อาหารที่ให้ควรปั้นกับน้ำให้เป้นก่อน ให้ปลาวันละ 2  ครั้ง  โดยหว่านให้ทั่วบ่อ เมื่อโตขึ้นก็สามารถกินอาหารเม็ดได้เองเเละอาหารเสริม เช่น เศษขนนปัง  เศษไส้ไก่  เศษอาหารต่างๆ  เป็นต้น

3.การถ่ายเทน้ำ

         เมื่อเริ่มเลี้ยง  ควรให้น้ำมีความลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร  เเละค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำทุกๆ สัปดาห์ จนได้ระดับน้ำประมาณ  1.20-1.50 เมตร  การถ่ายเทน้ำควรให้การเลี้ยงผ่านไป 1 เดือน  เเละถ้าน้ำเริ่มเน่าเสียควรถ่ายน้ำมากกว่าปกติ

4.การป้องกันโรค

         โรคที่เกิดส่วนใหญ่เกิดจากเศษอาหารที่ให้มากจนเกินไป ทำให้น้ำเน่าเสีย วิธป้องกันที่ดีที่สุดคือควรให้อาหารน้อยกว่าปกติ

          ปลาดุกควรมีระยะเวลาเลี้ยง  6-8 เดือนก็สามารถจับจำหน่ายได้

โรคของปลาดุกมีอยู่  5  โรค  คือ

1.โรคโคนครีบหูบวม  หรือ ผู้เลี้ยงเรียกกันติดปากว่า"โรคกกหูบวม"

           มักพบกับลูกปลาที่เลี้ยงได้ 2-3วันเเรก มีอาการ ว่ายน้ำวกวน ไม่มีทิศทาง ชอบเสียดสีกับวัตถุ  เละไม่ค่อยกินอาหาร

2.โรคท้องบวม  

          โรคนี้เกิดจากสารพิษบัคเตรี เข้าสู่ร่างกายทำให้ไปทำร้ายระบบขับถ่ายน้ำจึงระบายไม่ได้จึงระบายออกทางผิวหนัง  มีอาการ เซื่องซึม กินอาหารเเบบไม่เฉียบพลัน

 3.โรคครีบหางเปื่อยเเละหนวดกุด 

          เนื่องจากตัวเบียนมาเกาะดูดเลือด บริเวณ ครีบ หาง เเละหนวด ทำให้เส้โลหิตฝอยเเตกตามอวัยวะต่างๆของปลา  โรคนี้จะมีอาการ เซื่องซึม  ว่าน้ำชักกระตุกเป็นพักๆ เเละไม่ค่อยกินอาหาร

 4.โรคตัวเเข็งหรือช็อก
         จะเกิดกับปลาทุกวัย โดยเฉพาะปลาตัวใหญ่ เนื่องมาจากพยาธิตัวกรมในลำไส้เเละขาดสารอาหารประเภทวิตามินบี เเคลเซียม

 5. โรคหัวกะโหลกร้าว 

         จะมีรอยเเตกบบริเวณ ข้อต่อ หรือรอยพับที่เเตกบนหัวปลา  เนื่องจากผุ้เลี้ยงเร่งสารอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป ทำให้ปลามีร่างกายที่ไม่สมดุลจึงทำให้ปลามีไขมัน

ประโยชน์ของปลาดุก คือ

         1.สามารถเป็นอาชีพหลักให้เเก่ครอบครัวได้
         2.นำมารับประทานทำเป็นอาหารต่างๆได้ เช่น ปลาดุกย่าง   ปลาดุกฟู   เป็นต้น